เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว
ให้ทานด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์
ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรค ... ผลสมาบัติและ
ปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย
(อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติแล้ว ให้ทาน
ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่
ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ลักทรัพย์ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ
ฯลฯ งัดแงะ ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักจี้
ในทางเปลี่ยว ฯลฯ ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม
ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา
... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... มรรค
และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติแล้ว
ให้ทานด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่มี
ปีติ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น
ลักทรัพย์ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ (เหมือนกับทุติยวาร) ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่ไม่มีปีติ
ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ มรรค ...
ผลสมาบัติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย
(อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง) ได้แก่ ศรัทธาที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่
มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติและปีติ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :508 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัย
[161] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุด้วยจิตที่ไม่มี
ปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่มีปีติ ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ ปีติจึงเกิดขึ้น
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีปีติ
และปีติโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ด้วยจิตที่ไม่
มีปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ด้วยจิตที่
ไม่มีปีติ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ปีติและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :509 }